
เลซิตินเป็นสารประกอบระหว่างกรดไขมันจำเป็น ฟอสฟอรัส และวิตามินบี 2 ตัว ได้แก่ โคลีน(Choline) และอินอสซิตอล (Inositol) เราสามารถพบเลซิตินได้ในทุกเซลล์ของสิ่งมีชีวิตไม่ว่าจะเป็นพืชหรือสัตว์ สำหรับร่างกายมนุษย์จะพบมากในอวัยวะสำคัญ เช่น หัวใจ ตับ ไต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมองมีเลซิตินเป็นส่วนประกอบถึง 30% ซึ่งเลซิตินจำเป็นต่อการควบคุมขบวนการต่างๆภายในเซลล์ ให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยปกติแล้วเราได้รับเลซิตินจากอาหารทั่วไปอยู่แล้ว แต่อาจไม่เพียงพอต่อร่างกาย
เลซิติน พบได้ตามธรรมชาติจาก 2 แหล่ง ที่สำคัญ คือ
การรับประทานเลซิตินเสริมจึงมีความจำเป็นอย่างมาก ซึ่งปัจจุบันเลซิตินมักจะสกัดได้จาก ไข่แดง และถั่วเหลือง ซึ่งถั่วเหลืองจะเป็นแหล่งที่ดีในการสกัดเลซิติน เพราะปราศจากไขมันโคเลสเตอรอล และยังอุดมไปด้วยโปรตีนที่มีคุณค่าต่อร่างกายมากกว่า ซึ่งร่างกายของเราต้องการเลซิตินวันละ 6 กรัม ส่วน Choline ต้องการวันละ 0.6-1 กรัม สมัยก่อนไม่ค่อยพบว่ามีการขาดสารเลซิติน แต่ปัจจุบันคนนิยมรับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำ จึงอาจจะทำให้เกิดการขาดสารเลซิติน
เลซิติน...ช่วยเสริมความจำ ป้องกันสมองเสื่อม
จากงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ของ อเดลล์ เดวิส นักโภชนาการชาวสหรัฐ ได้รายงานว่าในร่างกายของคนที่มีสุขภาพดี จะมีสารเลซิตินอยู่ในสมองถึง 30% ของน้ำหนักทั้งหมด เลซิตินจึงมีความสำคัญต่อสมอง
ซึ่งในปี 1975 นักวิทยาศาสตร์แห่งสถาบันเทคโนโลยี แมตซาจูเสต ค้นพบว่าโคลีนในเลซิติน เป็นสารจำเป็นที่ร่างกายจะนำไปใช้เพื่อสร้างสารสื่อประสาท (Neurotransmitters) ที่เรียกว่า อะเซทิลโคลีน (Acetylcholine) ซึ่งช่วยในการส่งข้อมูลระหว่างเซลล์สมองแต่ละเซลล์ และระหว่างสมองกับการสั่งงานไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย และช่วยทำหน้าที่ในการถ่ายทอดข้อมูลและความรู้สึกเพื่อให้แสดงพฤติกรรมต่างๆ ได้ตามความต้องการของสมอง
นอกจากนั้น ปัจจุบันการรักษาทางการแพทย์ได้ใช้เลซิตินในการบำบัดโรคทางสมองต่าง ๆ เช่น Parkinson’s Disease, Alzheimer’s Disease, Tardive Dyskinesia ซึ่งเป็นโรคทางสมอง ที่เกิดจากเซลล์ประสาทขาดสาร Acetylcholine หรือคนชราที่ป่วยเป็นโรคความจำเสื่อม พบว่าบางคนอาจจะมีอาการดีขึ้นเมื่อได้รับประทานเลซิติน วันละ 25 กรัม เป็นเวลาหลาย ๆ เดือนติดต่อกัน และการศึกษาในผู้ที่เป็นโรคความจำเสื่อม (Alzheimer’s Disease) ระยะเริ่มแรก พบว่าการให้โคลีนเป็นระยะเวลา 6 เดือนจะช่วยให้ความจำดีขึ้นได้ หรือการให้โคลีนร่วมกับยาที่ใช้รักษา (cholinesterase inhibitors) ก็ทำให้มีการพัฒนาความสามารถที่ต้องใช้ความจำด้วย
และสำหรับสภาพสังคม ในปัจจุบันมนุษย์ส่วนใหญ่จะมีการเครียดสูง หลงลืม หงุดหงิด นอนไม่หลับ และอารมย์เสียง่าย ซึ่งเป็นอาการเริ่มต้นของโรคเส้นประสาทเสื่อม พบว่าอาการดังกล่าวอาจบำบัดได้โดยการรับประทานเลซิติน
เลซิติน...ช่วยบำรุงตับ ลดการทำลายเซลล์ตับ
สารสำคัญที่พบในเลซิติน คือ ฟอสฟาทิดิลโคลีน (Phosphatidylcholine) เป็นสารที่มีความสำคัญ เนื่องจากเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเยื่อหุ้มเซลล์ทุกชนิดในร่างกาย รวมทั้งเซลล์ตับ นอกจากนั้นฟอสฟาทิดิลโคลีน ยังมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันการเกิดความผิดปกติจากยา แอลกอฮอล์ สารเคมี สารพิษต่างๆ ที่มีส่วนในการทำลายตับ ดังนั้นฟอสฟาทิดิลโคลีน ในเลซิตินจึงมีบทบาทในการช่วยซ่อมแซมเซลล์ตับได้
เลซิตินช่วยลดการเกิดภาวะไขมันพอกตับได้เพราะ
เลซิติน...ช่วยลดไขมันโคเลสเตอรอล ป้องกันโรคสมองและหัวใจขาดเลือด
เนื่องจากคุณสมบัติของไขมันโคเลสเตอรอลที่ไม่ละลายรวมตัวกับน้ำ ทำให้ไขมันโคเลสเตอรอลไม่ละลายในเลือด แต่จะจับตัวเป็นก้อนตกตะกอนอยู่ตามผนังเส้นเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดหลอดเลือดอุดตัน และโรคสมองและหัวใจขาดเลือดตามมาได้ในที่สุด ซึ่งเลซิตินจะมีคุณสมบัติช่วยทำให้ไขมันโคเลสเตอรอลและน้ำรวมตัวกันได้ดีขึ้น ส่งผลให้ไขมันโคเลสเตอรอลไม่เกาะติดกับผนังเส้นเลือดจนเกิดการอุดตัน และช่วยเพิ่มระบบไหลเวียนเลือดให้ดีขึ้น นอกจากนั้นเลซิตินช่วยลดปริมาณคอเลสเตอรอลในเลือด โดยช่วยในกระบวนการเผาผลาญไขมันของตับ ส่งผลให้ร่างกายมีการนำไขมันไปใช้เป็นพลังงานได้ดี
นอกจากนั้นเลซิตินยังมีส่วนช่วยลดการดูดซึมและเพิ่มการขับถ่ายไขมันโคเลสเตอรอลทางอุจจาระ และช่วยเพิ่มสัดส่วนของไขมันเอช ดี แอล โคเลสเตอรอล (HDL-Cholesterol) ที่เป็นไขมันชนิดดี ที่มีหน้าที่นำพาไขมันที่สะสมและอุดตันตามผนังเส้นเลือดกลับไปทำลายที่ตับ ส่งผลในการช่วยลดระดับไขมันโคเลสเตอรอลได้อีกทางหนึ่ง
เลซิติน.....ประโยชน์ด้านอื่น ๆ ต่อสุขภาพ
ขนาดการรับประทานที่เหมาะสมของเลซิติน |
รับประทานวันละ |
|
เพื่อเสริมความจำ ป้องกันสมองเสื่อม |
1,200-3,600 มิลลิกรัม |
เพื่อบำรุงตับ ลดการทำลายเซลล์ตับ |
1,200-3,600 มิลลิกรัม |
เพื่อลดไขมันโคเลสเตอรอล ป้องกันโรคสมองและหัวใจขาดเลือด |
3,600-7,200 มิลลิกรัม |
1 |
หน้าที่เข้าชม | 4,321,334 ครั้ง |
ผู้ชมทั้งหมด | 2,478,935 ครั้ง |
เปิดร้าน | 3 ก.พ. 2555 |
ร้านค้าอัพเดท | 26 ต.ค. 2559 |