Vistra B-Complex วิตามินบี ดูแลสมอง ระบบประสาท คลายความเครียด เหมาะกับผู้ที่ขาดวิตามินบีรวม

หมวดหมู่ บำรุงสมอง ระบบประสาท
ราคาปกติ 250.00 บาท
ลดเหลือ 170.00 บาท
อัพเดทล่าสุด 21 เม.ย. 2556
ความพึงพอใจ ยังไม่มีความคิดเห็น
จำนวน
ชิ้น
หยิบลงตะกร้า

 B Complex Plus Minerals 30 Tabs วิตามินบีรวม 30 เม็ด
รายละเอียดย่อ :
วิตามินบีรวมจำเป็นต่อการสร้างสารสื่อประสาท ช่วยบำรุงสมองและระบบประสาทให้ทำงานเป็นปกติ ช่วยเปลี่ยนสารอาหารให้เป็นพลังงานสำหรับสมอง เสริมสร้างสมาธิ
รายละเอียดทั้งหมด :

Vistra B Complex Plus Minerals 30 Tabs
วิสทร้า วิตามินบีรวม 30 เม็ด

วิสตร้า ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

บี คอมเพล็กซ์ พลัส มิเนอรัล

น้ำหนักสุทธิ 36 กรัม (30 เม็ด)

ส่วนประกอบสำคัญ : ในวิตามิน 1 เม็ด ประกอบด้วย

โคลีน ไบทาร์เทรต (ให้โคลีน 41.31 มก.)             Coline Bitartrate                 100.00 มก.

ซิงค์ กลูโคเนต (ให้ซิงค์ 7.5 มก.)                         Zinc Gluconate                      55.35 มก.

อิโนซิทอล                                                             Inositol                                  50.00 มก.

แมงกานีส กลูโคเนต (ให้แมงกานีส 3.5 มก.)        Manganese Gluconate          30.17 มก.

วิตามิน บี 3                                                           Vitamin B 3                            20.00 มก.

คอปเปอร์ กลูโคเนต (ให้คอปเปอร์ 2 มก.)            Copper Gluconate                 14.28 มก.

วิตามิน บี 5                                                           Vitamin B 5                               6.00 มก.

วิตามิน บี 6                                                           Vitamin B 6                               2.00 มก.

วิตามิน บี 12 (ให้วิตามิน บี 12  2 มคก.)               Vitamin B 12                             2.00 มก.

วิตามิน บี 2                                                           Vitamin B 2                               1.70 มก.

วิตามิน บี 1                                                           Vitamin B 1                               1.50 มก.

กรดโฟลิก (ให้กรดโฟลิก 200 มคก.)                    Folic Acid                                  0.20 มก.

ไบโอติน (ให้ไบโอติน 150 มคก.)                         Biotin                                        0.15 มก.

 

อย. 10-1-00449-1-0188

ประโยชน์วิตามินบีรวม
-จำเป็นต่อการสร้างสารสื่อประสาท
-ช่วยบำรุงสมองและระบบประสาทให้ทำงานเป็นปกติ
-ช่วยเปลี่ยนสารอาหารให้เป็นพลังงานสำหรับสมอง
-เสริมสร้างสมาธิและ ป้องกันภาวะความจำเสื่อม

วีธีรับประทาน Vistra B Complex

รับประทานครั้งละ 1 เม็ดพร้อมอาหาร

วิตามินบีรวม (B complex) ควรซื้ออย่างไร?

- ต้องมีกลุ่มของวิตามินบี อย่างครบถ้วน ได้แก่ วิตามินบี 1 , วิตามินบี 2, วิตามินบี 3, วิตามินบี 5, วิตามินบี 6, วิตามินบี 12, ไบโอติน, กรดโฟลิก, โคลีน, และอิโนซิทอล

- ควรมีแร่ธาตุบางชนิดที่ช่วยส่งเสริมการทำงานของสมอง เช่น สังกะสี ทองแดง และแมงกานีส

- มีโคลีน สารอาหารที่จำเป็นต่อการสร้างสารสื่อประสาทและการทำงานของสมอง

- มีอิโนซิทอล เพื่อทำงานร่วมกับโคลีน ช่วยในการบำรุงประสาท และสมอง

ประโยชน์ของวิตามินบี

 

วิตามินบี

กลุ่มวิตามิน B

มีหลายตัวดังนี้

1. วิตามิน B1 คือ THIAMINE
2. วิตามิน B2 คือ RIBOFLAIN
3. วิตามิน B3 คือ NIACIN หรือ NICOTINIC ACID หรือ NIACINA MIDE
4. วิตามิน B5 คือ PANTOTHENIC ACID
5. วิตามิน B6 คือ PYRIDOXINE
6. วิตามิน B12 คือ CYANO COBALAMIN
7. วิตามิน B15 คือ PANGAMIC ACID

วิตามิน B1 (THIAMINE)

วิตามิน B1 มีมากในเมล็ดข้าวต่าง ๆ ที่ไม่ได้ขัดให้ขาว เช่น ข้าวซ้อมมือ หรือข้าวแดง ข้าวโอ๊ต เนื้อหมู ตับ ถั่ว รำข้าว และยีสต์ที่ตายแล้ว

อาการเมื่อขาดวิตามิน B1 เริ่มจาก

เบื่ออาหาร นอนหลับยาก ความคิดสับสน สมองมึนงง อารมณ์แปรปรวน หากขาดรุนแรงอาจทำให้เกิดอาการทางการเคลื่อนไหวไม่สัมพันธ์กัน ชาตามปลายมือปลายเท้า รุนแรงมากขึ้นอาจเป็นอัมพาต และโรคหัวใจวายได้

ประโยชน์ของวิตามิน B1

1. ช่วยให้รู้สึกเจริญอาหาร
2. ช่วยให้สมองไม่มึนงงไม่สับสนมองโลกในแง่ดี มีความคิดอ่านดี ให้พลังงานแก่ประสาท และสมองและการสร้างสารอะเซททิลโคลีน
3. ช่วยให้ระบบประสาท ระบบกล้ามเนื้อทำงานดีสัมพันธ์กัน
4. ช่วยรักษาโรคเหน็บชา
5. ช่วยให้กล้ามเนื้อหัวใจทำงานดีขึ้น
6. ช่วยให้ไม่เกิดอาการวิงเวียนศีรษะ

สาเหตุที่ขาดวิตามิน B1

1. รับประทานอาหารที่มีวิตามิน B1 ในปริมาณที่ไม่เพียงพอ หรือรับประทานอาหารที่ไม่ใช่ วิตามินB
2. รับประทาน อาหารคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป ทำให้ร่างกายต้องใช้ วิตามิน B ไปมากในการเผาผลาญสารอาหารคาร์โบไฮเดรต จนร่างกายขาดวิตามิน B
3. การหุงต้มอาหาร ในความร้อนนานเกินไปทำให้ วิตามิน B ความร้อนทำลาย
4. ผู้สูงอายุ อาจจะมีการดูด ซึมวิตามิน B ไม่ดี
5. ผู้ที่ดื่มสุรา เป็นอาจิณ ทำให้วิตามิน B ถูกแอลกอฮอล์ทำลายหมด และวิตามิน B ดูดซึมเข้าไปไม่ได้


วิตามิน B2 (RIBOFLAVIN)

อาหารที่มีวิตามิน B2 พบในอาหารประเภท

- เครื่องใน เช่น ตับ ไต (เซี่ยงจี๊)
- น้ำนม และนมเปรี้ยว (โยเกิร์ต)
- ผักใบเขียว และ ปลา

ประโยชน์ ของวิตามิน B2

- ช่วยเร่งการเจริญเติบโตของทารกและเด็ก
- ช่วยให้ผมและเล็บ แข็งแรง และผิวหนังแข็งแรง
- ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคต้อกระจก
- ช่วยให้ระบบประสาท หู และตา ทำงานดี
- ช่วยให้ไม่เกิดโรคปากนกกระจอก และแผลในปากเปื่อย
- ช่วยไม่ให้เกิดแผลโคนลิ้น หรือลิ้นแตก

อาการของผู้ที่ขาดวิตามิน B2

- เกิดแผลแตกตรงมุมปากที่เรียกว่าแผลปากนกกระจอก
- เกิดแผลในเยื่อช่องปากที่เรียกว่า แผลปากเปื่อย ซึ่งอาจจะเกิดแผลที่ลิ้น และลิ้นจะแดงแตก
- เกิดตาระคายเคือง ขอบตาและหนังตาแห้งเป็นสะเก็ด ระคายเคือง
- ผิวหนังรอบ ๆ รูจมูก และหน้าผากจะแห้งตกสะเก็ด


วิตามิน B3 (NIACIN)

อาหารที่มีวิตามิน B3 ได้แก่

- ตับวัว, หัวใจวัว, ไตวัว
- เนื้อกระต่าย, ไก่งวง, ไก่เนื้อ
- ปลาทูน่า แป้งสาลี่ที่บดทั้งเมล็ด
- เมล็ดในดอกทานตะวัน, ถั่ว และยีสต์

อาการของผู้ที่ขาดวิตามิน B3

- เบื่ออาหารไม่ค่อยรู้รสอาหาร
- ลิ้นแห้ง
- ผิวหนังเป็นผื่นแดง ตกสะเก็ด เรียกว่าโรค PELLAGRA
- อารมณ์แปรปรวน หลงๆ ลืมๆ สับสน ตกใจง่าย บางคนประสาทหลอน จิตใจหดหู่
- บางคนจะมีความรู้สึก ท้องอืด ท้องอึดอัด
- บางคนเดินทรงตัวไม่ไหว

ทางการแพทย์ได้มีการใช้วิตามิน B3 ผลิตเป็นยาในสภาพที่วิตามินตัวนี้เป็นกรด เรียกว่า ไนอาซินาไมด์ มารักษาโรคต่างๆ เช่น โรคขาดสมาธิ จิตใจ และอารมณ์กระวนกระวาย หรือพวกจิตซึมเศร้า พวกคนไข้ที่อ่อนเพลียระเหี่ยใจ , พวกตื่นเต้นตกใจง่าย และพวกที่มีอาการวิงเวียนศีรษะ ทรงตัวไม่ดี และ ใช้รักษาโรคผิวหนังที่เรียก โรค PELLAGRA ที่เกิดจากขาดวิตามิน B3 เรื้อรังมานาน จนเกิดโรครุนแรงขึ้นได้ 

ที่มา : https://www.thainakarin.co.th/tipsdetailth.php?id=45
 


เมื่อมีความเครียด ร่างกายจะปรับตัวโดยกระตุ้นให้ต่อมหมวกไตสร้างสารต่างๆออกมาเพื่อตอบสนองต่อความเครียดที่เกิดขึ้นซึ่งในการสร้างสารเหล่านั้นจำเป็นต้องใช้กลุ่มวิตามินบี (B-complex) ในการสังเคราะห์ ดังนั้น หากร่างกายอยู่ในภาวะเครียดสะสม วิตามินบีก็จะถูกใช้จนหมดลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ร่างกายโดยเฉพาะสมองขาดพลังงานและนำไปสู่ภาวะความเครียดที่รุนแรงได้ วิตามินบี จัดเป็นวิตามินที่ละลายน้ำได้ดี มีหน้าที่เป็น Coenzyme ในการเปลี่ยนสารอาหารต่างๆ ให้เป็นพลังงาน ซึ่งจากการศึกษาพบว่า 

           วิตามินบี จำเป็นต่อการสร้างสารสื่อประสาท

           วิตามินบี ช่วยบำรุงสมองและระบบประสาทให้ทำงานเป็นปกติ

           วิตามินบี เสริมสร้างสมาธิและความจำ ป้องกันการเกิดโรคความจำเสื่อม


ปัจจุบัน ความเครียดของทุกๆคนมากขึ้น 

คุณเคยนอนไม่หลับเพราะคิดมากหรือกังวลใจบ้างหรือเปล่า?

เคยรู้สึกเหนื่อยหน่ายจนไม่อยากทำอะไรบ้างไหม?

เคยมีอาการปวดหรือเกร็งกล้ามเนื้อบริเวณท้ายทอย หลัง หรือไหล่ ทั้งที่ไม่ได้ใช้แรงทำอะไรเลย?

ถ้าในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาคุณมีอาการเหล่านี้...

แสดงว่าคุณกำลังเริ่มเข้าสู่ภาวะความเครียดในระยะเริ่มแรกแล้ว

มาทำความรู้จักกันก่อนว่า “ความเครียด” คืออะไร?

ความเครียดเป็นภาวะของอารมณ์หรือความรู้สึกที่เกิดขึ้นเมื่อบุคคลต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆ และทำให้รู้สึกถูกกดดัน ไม่สบายใจ วุ่นวายใจ กลัว วิตกกังวล ตลอดจนถูกบีบคั้น เมื่อบุคคลรับรู้หรือประเมินว่าปัญหาเหล่านั้นเป็นสิ่งที่คุกคามจิตใจ หรืออาจจะก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกาย จะส่งผลให้สภาวะสมดุลของร่างกายและจิตใจเสียไป

แบบไหนถึงจะเรียกว่าเครียด?

เมื่อเกิดความเครียด บุคคลจะแสดงปฏิกิริยาตอบสนองต่อความเครียดและทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย ด้านจิตใจและอารมณ์ รวมทั้งด้านพฤติกรรม แต่เมื่อเวลาผ่านไป และความเครียดเหล่านั้นคลายลง ร่างกายจะกลับเข้าสู่ภาวะสมดุลอีกครั้งหนึ่ง

ความเครียดทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเรื่องใดบ้าง?

ผลจากปฏิกิริยาตอบสนองที่มีต่อความเครียด ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในตัวบุคคลนั้น โดยแบ่งออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่

1. ด้านร่างกาย

ภาวะที่เครียดเกิดขึ้นจะกระตุ้นระบบประสาทอัตโนมัติ ทำให้เกิดอาการหน้ามืด

เป็นลม เจ็บหน้าอก ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ หลอดเลือดอุดตัน โรคอ้วน แผลในกระเพาะอาหาร เมื่อบุคคลตกอยู่ในความเครียดเป็นเวลานาน จะทำให้สุขภาพร่างกายเลวลงเนื่องจากเกิดความไม่สมดุลของระบบฮอร์โมน ซึ่งเป็นชีวเคมีที่สำคัญต่อมนุษย์ เพราะทำหน้าที่ช่วยควบคุมการทำงานของระบบต่างๆ ภายใน ขณะเกิดความเครียดจะทำให้ต่อมใต้ถูกกระตุ้น ทำให้ต่อมหมวกไตหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล (cortisol) เพิ่มขึ้น จะทำให้เกิดอาการทางกายหลายอย่างแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ตั้งแต่ปวดศีรษะ ปวดหลัง อ่อนเพลีย หากบุคคลนั้นต้องเผชิญกับความเครียดที่รุนแรงมากๆ อาจส่งผลให้บุคคลเสียชีวิตได้เนื่องจากระบบการทำงานที่ล้มเหลวของร่างกาย เช่นคนที่มีโรคเบาหวานเป็นโรคประจำตัวอยู่แล้ว หากเกิดความเครียดอย่างรุนแรง ฮอร์โมนคอร์ติซอลจะไปกระตุ้นระดับน้ำตาลในเลือดให้สูงขึ้นหรือลดต่ำลงอย่างผิดปกติ และทำให้เกิดอาการช็อกได้ หรือในบางรายที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานได้ไม่เต็มที่ส่งผลให้เกิดเป็นอาการของโรคหอบหืด โรคภูมิแพ้ต่างๆ โรคผิวหนัง อาจมีอาการผมร่วงและมีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งได้ง่ายกว่าเมื่อเทียบกับคนปกติ

2.  ด้านจิตใจและอารมณ์

จิตใจของบุคคลที่เครียดจะเต็มไปด้วยการหมกมุ่นครุ่นคิด ไม่สนใจสิ่งรอบตัว ใจลอย

ขาดสมาธิ ความระมัดระวังในการทำงานเสียไปเป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย จิตใจขุ่นมัว โมโหโกรธง่าย สูญเสียความเชื่อมั่นในความสามารถที่จะจัดการกับชีวิตของตนเอง เศร้าซึม คับข้องใจ วิตกกังวล ขาดความภูมิใจในตนเอง ในบางรายที่ตกอยู่ในภาวะเครียดอย่างยาวนานมาก อาจก่อให้เกิดอาการทางจิต จนกลายเป็นโรคจิตโรคประสาทได้ เนื่องจากการเผชิญต่อภาวะเครียดเป็นเวลานานฮอร์โมนคอร์ติซอลที่มีปริมาณเพิ่มขึ้น จะทำให้เซลล์ประสาทฝ่อและลดจำนวนลง โดยเฉพาะในสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับกับความจำและสติปัญญา ความเครียดจึงทำให้ทำให้ความจำและสติปัญญาลดลง และยังมีผลต่อการทำงานของระบบสารสื่อประสาทที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับอารมณ์และพฤติกรรมโดยเฉพาะสารสื่อประสาท จึงทำให้เกิดอาการซึมเศร้าและวิตกกังวลกว่าเวลาปกติ

3. ด้านพฤติกรรม

การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายดังที่กล่าวในข้างต้น ไม่เพียงแต่จะทำให้ระบบการ

ทำงานของร่างกายผิดเพี้ยนไป แต่ยังทำให้พฤติกรรมการแสดงออกของบุคคลเปลี่ยนแปลงด้วย ยกตัวอย่างเช่น บุคคลที่เครียดมากๆ บางรายจะมีอาการเบื่ออาหารหรือบางรายอาจจะรู้สึกว่าตัวเองหิวอยู่ตลอดเวลาและทำให้มีการบริโภคอาหารมากกว่าปกติ มีอาการนอนหลับยากหรือนอนไม่หลับหลายคืนติดต่อกัน ประสิทธิภาพในการทำงานน้อยลง เริ่มปลีกตัวจากสังคม และเผชิญกับความเครียดอย่างโดดเดี่ยว บ่อยครั้งบุคคลจะมีพฤติกรรมการปรับตัวต่อความเครียดในทางที่ผิด เช่น สูบบุหรี่ ติดเหล้า ติดยา เล่นการพนัน การเปลี่ยนแปลงของสารเคมีบางอย่างในสมองทำให้บุคคลมีพฤติกรรมก้าวร้าวมากขึ้น ความอดทนเริ่มต่ำลง พร้อมที่จะเป็นศัตรูกับผู้อื่นได้ง่าย อาจมีการอาละวาดขว้างปาข้าวของ ทำร้ายผู้อื่น ทำร้ายร่างกายตนเอง หรือหากบางรายที่เครียดมากอาจเกิดอาการหลงผิดและตัดสินใจแบบชั่ววูบนำไปสู่การฆ่าตัวตายในที่สุด

 

 

ทำอย่างไรจึงจะหายจากอาการเครียดได้?

วิเคราะห์หาสาเหตุที่ทำให้เกิดความเครียด

พิจารณาดูว่าสามารถแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุได้หรือไม่ หากแก้ไขไม่ได้อาจต้อง

ขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นเพื่อแก้ไขปัญหา เพราะบางครั้งปัญหานั้นอาจไม่ได้เกิดจากเราเพียงคนเดียวก็ได้

สารพัดวิธีในการจัดการกับความเครียด

การผ่อนคลายทางร่างกาย เช่น การหายใจลึกๆ การออกกำลังกาย การนวด

การพักผ่อน การรับประทานอาหาร การอาบน้ำอุ่น

การลดความตึงเครียดทางจิตใจ เช่น การสร้างอารมณ์ขัน การคิดใทางบวก

การดูภาพยนตร์ การฟังเพลง การหัวเราะ การหายใจลึกๆ การทำสมาธิ การใช้เทคนิคความเงียบ เพื่อหยุดความคิดของตัวเอง ในเรื่องที่ทำให้เครียด

 

สำหรับการฝึกคลายเครียดนั้น เมื่อเริ่มรู้สึกว่ามีอาการเครียดในระดับน้อยๆควรฝึกบ่อยๆ วันละ 2-3 ครั้ง และควรฝึกทุกวัน ต่อเมื่อฝึกจนชำนาญแล้วจึงลดลงเหลือเพียงวันละ 1 ครั้งก็พอ หรืออาจฝึกเฉพาะเมื่อรู้สึกเครียดเท่านั้นก็ได้ แต่อยากแนะนำให้ฝึกทุกวัน โดยเฉพาะก่อนนอนจะช่วยให้จิตใจสงบ และนอนหลับสบายขึ้น

วิธีที่จะนำเสนอต่อไปนี้ นับเป็นวิธีการเฉพาะในการลดความเครียด ของ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข (https://www.dmh.go.th/news/view.asp?id=1012)ซึ่งสามารถลดความเครียดที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันได้ เพราะในขณะที่เกิดความเครียด กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ของร่างกายจะหดเกร็งและจิตใจจะวุ่นวายสับสน ดังนั้น เทคนิคการผ่อนคลายความเครียดส่วนใหญ่จึงเน้นการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ และการทำจิตใจให้สงบเป็นหลัก ซึ่งวิธีที่จะนำเสนอในที่นี้ จะเป็นวิธีง่ายๆ สามารถทำได้ด้วยตัวเอง

1. การฝึกเกร็งและคลายกล้ามเนื้อ

กล้ามเนื้อที่ควรฝึกมี 10 กลุ่มด้วยกัน คือ

1. แขนขวา

2. แขนซ้าย

3. หน้าผาก

4. ตา แก้มและจมูก

5. ขากรรไกร ริมฝีปากและลิ้น

6. คอ

7. อก หลัง และไหล่

8. หน้าท้อง และก้น

9. ขาขวา

10. ขาซ้าย

วิธีการฝึกมีดังนี้

- นั่งในท่าสบาย

- เกร็งกล้ามเนื้อไปทีละกลุ่ม ค้างไว้สัก 10 วินาที แล้วคลายออก จากนั้นก็เกร็งใหม่สลับกันไปประมาณ 10 ครั้ง ค่อยๆ ทำไปจนครบทั้ง 10 กลุ่ม

- เริ่มจากการกำมือ และเกร็งแขนทั้งซ้ายขวาแล้วปล่อย

- บริเวณหน้าผาก ใช้วิธีเลิกคิ้วให้สูง หรือขมวดคิ้วจนชิดแล้วคลาย

- ตา แก้ม และจมูก ใช้วิธีหลับตาปี๋ ย่นจมูกแล้วคลาย

- ขากรรไกร ริมฝีปากและลิ้น ใช้วิธีกัดฟัน เม้มปากแน่นและใช้ลิ้นดันเพดานโดยหุบปากไว้แล้วคลาย

- คอ โดยการก้มหน้าให้คางจรดคอ เงยหน้าให้มากที่สุดแล้วกลับสู่ท่าปกติ

- อก หลัง และไหล่ โดยหายใจเข้าลึกๆ แล้วเกร็งไว้ ยกไหล่ให้สูงที่สุดแล้วคลาย

- หน้าท้องและก้น ใช้วิธีแขม่วท้อง ขมิบกันแล้วคลาย

- งอนิ้วเท้าเข้าหากัน กระดกปลายเท้าขึ้นสูง เกร็งขาซ้ายและขวาแล้วปล่อย

การฝึกเช่นนี้จะทำให้รับรู้ถึงความเครียดจากการเกร็งกล้ามเนื้อกลุ่มต่างๆ และรู้สึกสบายเมื่อคลายกล้ามเนื้อออกแล้ว

ดังนั้น ครั้งต่อไปเมื่อเครียดและกล้ามเนื้อเกร็งจะได้รู้ตัว และรีบผ่อนคลายโดยเร็ว ก็จะช่วยได้มาก

2. การฝึกการหายใจ

ฝึกการหายใจโดยใช้กล้ามเนื้อกระบังลมบริเวณหน้าท้องแทนการหายใจโดยใช้กล้ามเนื้อหน้าอก

เมื่อหายใจเข้า หน้าท้องจะพองออก และเมื่อหายใจออก หน้าท้องจะยุบลง ซึ่งจะรู้ได้โดยเอามือวางไว้ที่หน้าท้องแล้วคอยสังเกตเวลาหายใจเข้าและหายใจออก

หายใจเข้าลึกๆ และช้าๆ กลั้นไว้ชั่วครู่แล้วจึงหายใจออก

ลองฝึกเป็นประจำทุกวัน จนสามารถทำได้โดยอัตโนมัติ

การหายใจแบบนี้จะช่วยให้ร่างกายได้รับออกซิเจนมากขึ้น ทำให้สมองแจ่มใส ร่างกายกระปรี้กระเปร่า ไม่ง่วงเหงาหาวนอน พร้อมเสมอสำหรับภารกิจต่างๆ ในแต่ละวัน

3. การทำสมาธิเบื้องต้น

เลือกสถานที่ที่เงียบสงบ ไม่มีใครรบกวน เช่น ห้องพระ ห้องนอน ห้องทำงานที่ไม่มีคนพลุกพล่าน หรือมุมสงบในบ้าน

นั่งขัดสมาธิ เท้าขวาทับเท้าซ้าย มือชนกันหรือมือขวาทับมือซ้ายตั้งตัวตรง หรือจะนั่งพับเพียบก็ได้ตามแต่จะถนัด

กำหนดลมหายใจเข้าออก โดยสังเกตลมที่มากระทบปลายจมูก หรือริมฝีปากบน ให้รู้ว่าขณะนั้นหายใจเข้าหรือออก

หายใจเข้าท้องพอง หายใจออกท้องยุบ

หายใจเข้านับ 1 หายใจออกนับ 1

นับไปเรื่อยๆ จนถึง 5

เริ่มนับใหม่จาก 1-6 แล้วพอ

กลับมานับใหม่จาก 1-7 แล้วพอ

กลับมานับใหม่จาก 1-8 แล้วพอ

กลับมานับใหม่จาก 1-9 แล้วพอ

กลับมานับใหม่จาก 1-10 แล้วพอ

ย้อนกลับมาเริ่ม 1-5 ใหม่ วนไปเรื่อยๆ

ขอเพียงจิตใจจดจ่ออยู่กับลมหายใจเข้าออกเท่านั้น อย่าคิดฟุ้งซ่านเรื่องอื่น เมื่อจิตใจแน่วแน่จะช่วยขจัดความเครียด ความวิตกกังวล ความเศร้าหมอง เกิดปัญญาที่จะคิดแก้ไขปัญหาและเอาชนะอุปสรรคต่างๆ ในชีวิตได้อย่างมีสติ มีเหตุมีผล และยังช่วยให้สุขภาพร่างกายดีขึ้นด้วย

4. การใช้เทคนิคความเงียบ

การจะสยบความวุ่นวายของจิตใจที่ได้ผล คงต้องอาศัยความเงียบเข้าช่วย โดยมีวิธีการดังนี้

- เลือกสถานที่ที่สงบเงียบ มีความเป็นส่วนตัว และควรบอกผู้ใกล้ชิดว่าอย่าเพิ่งรบกวนสัก 15 นาที

- เลือกเวลาที่เหมาะสม เช่น หลังตื่นนอน เวลาพักกลางวัน ก่อนเข้านอน ฯลฯ

-นั่งหรือนอนในท่าที่สบาย ถ้านั่งควรเลือกเก้าอี้ที่มีพนักพิงศีรษะอย่าไขว่ห้างหรือกอดอก

- หลับตา เพื่อตัดสิ่งรบกวนจากภายนอก

- หายใจเข้าออกช้าๆ ลึกๆ

- ทำใจให้เป็นสมาธิ โดยท่องคาถาบทสั้นๆ ซ้ำไปซ้ำมา เช่น พุทโธ พุทโธ หรือจะสวดมนต์บทยาวๆ ต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆ เช่น สวดพระคาถาชินบัญชร 3-5 จบ เป็นต้น

ฝึกครั้งละ 10-15 นาที ทุกวัน วันละ 2 ครั้ง แรกๆ ให้เอานาฬิกามาวางตรงหน้า และลืมตาดูเวลาเป็นระยะๆ เมื่อฝึกบ่อยเข้าจะกะเวลาได้อย่างแม่นยำ ไม่ควรใช้นาฬิกาปลุก เพราะเสียงจากนาฬิกาจะทำให้ตกใจเสียสมาธิ และรู้สึกหงุดหงิดแทนที่จะสงบ

การปรับตัวเพื่อส่งเสริมสุขภาพจิต

หาผู้ที่สามารถให้คำปรึกษาได้ อาจเป็นเพื่อน ครอบครัว คนใกล้ชิด ผู้ให้คำปรึกษา (Counselor) หรือจิตแพทย์

หลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับปัญหาไปสักระยะหนึ่ง

พยายามไม่คาดหวังในสิ่งต่าง ๆ มากจนเกินไป

หลีกเลี่ยงการเกิดอารมณ์รุนแรง

ออกกำลังกายทุกวัน

สนใจศึกษาคำสอนของศาสนา

เข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการ

ปรับปรุงเรื่องมนุษยสัมพันธ์

 

ขั้นตอน สู่การควบคุมความเครียด

คิดในแง่ดี

มีปัญหาเล่าสู่กันฟัง

สร้างความรักความอบอุ่นในครอบครัว

รักษาสุขภาพกายและจิตใจให้แข็งแกร่ง

ฝึกเทคนิคคลายเครียดด้วยวิธีการต่างๆ

วางแผนการบริหารจัดการเวลา

จัดการสิ่งที่จัดการได้ก่อน

เลือกสิ่งที่เป็นไปได้จริง

ตัดสินใจอย่างฉลาด

 

อยากรู้ว่าตัวเองกำลังเครียดหรือเปล่า?

ทดลองทำแบบประเมินความเครียดออนไลน์ ที่จัดทำขึ้นโดยกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ได้ที่ https://www.dmh.go.th/test/stress/asheet.asp?qid=HYPERLINK "https://www.dmh.go.th/test/stress/asheet.asp?qid=6"6

บทความโดย: รศ. ดร. ภญ. ศรีจันทร์ พรจิราศิลป์

ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

เรียบเรียงโดย : ชญานุตม์ นิรมร

งานวิเทศสัมพันธ์และประชาสัมพันธ์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล



ข้อจำกัดด้านลิขสิทธ์บทความ : 
บทความในหน้าที่ปรากฎนี้สามารถนำไปทำซ้ำเพื่อเผยแพร่ในเว็บไซต์หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ
โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้การนำไปทำซ้ำนั้นยังคงต้องปรากฎชื่อผู้แต่งบทความ และห้ามตัดต่อหรือเรียบเรียงเนื้อหาในบทความนี้ใหม่โดยเด็ดขาด และกรณีที่ท่านได้นำบทความนี้ไปใช้ในเว็บเพจของท่าน ให้สร้าง Hyperlink เพื่อสร้าง link อ้างอิงบทความนี้มายัง
https://www.pharmacy.mahidol.ac.th/thai/knowledgeinfo.php?id=47 ด้วย

สินค้านี้ยังไม่มีคนวิจารณ์
ชื่อ
คำถาม
รายละเอียด
  • ถาม
สินค้านี้ยังไม่มีคนถามคำถาม

วิธีการชำระเงิน

หลังทำรายการสั่งซื้อเสร็จเรียบร้อย ลูกค้าสามารถชำระเงินได้เลยครับ ไม่จำเป็นต้องรอการติดต่อกลับจากทางร้านให้เสียเวลา เพราะทางร้านมีระบบคลังสินค้าอัตโนมัติ  สินค้าที่กดทำรายการสั่งซื้อได้จะมีของพร้อมส่งทุกรายการ  โดยท่านสามารถเลือกชำระเงินผ่านตู้ ATM, เคาร์เตอร์ธนาคาร, โทรศัพท์มือถือ หรือ Internet Banking ที่ท่านสะดวกเข้ามาที่บัญชีที่ระบุไว้ด้านล่างนี้

*     กรุณาชำระเงินภายใน 3 วันหลังจากสั่งซื้อ หากครบกำหนดรายการสั่งซื้อของท่านจะถูกยกเลิกอัตโนมัติ
**   หลังชำระเงิน กรุณาแจ้งยืนยันการชำระเงินอีกครั้ง พร้อมทั้งเก็บสลิปหรือหลักฐานการการชำระเงินไว้จนกว่าท่านจะได้รับสินค้า
*** ลูกค้าไม่ต้องแนบสลิปตอนแจ้งชำระเงิน เพราะทางร้านมีระบบบัญชีธนาคารออนไลน์ ตรวจสอบรายการโอนกับธนาคารได้โดยตรง

 

 

เมื่อท่านได้ทำการชำระเงินแล้ว กรุณาแจ้งชำระเงินผ่านหน้าเว็บ  คลิ๊กที่นี่ เพิ่อแจ้งชำระเงินทันที หรือส่ง SMS มาที่ 089-1602557

ธนาคาร สาขา เลขที่บัญชี ประเภทบัญชี ชื่อบัญชี
ทหารไทย ศรีจันทร์-ขอนแก่น 464-2-14084-4 ออมทรัพย์ นายอัครวัตร คูณคำตา
กสิกรไทย อโศก-กรุงเทพ 741-2-40040-7 ออมทรัพย์ นางสาวรจเรศ เนตรทอง
กรุงเทพ เอ็มโพเรียม-กรุงเทพ 096-022432-7 ออมทรัพย์ นางสาวรจเรศ เนตรทอง
กรุงไทย เทสโก้โลตัส นาดี อุดรธานี 981-1-59679-4 ออมทรัพย์ นางสาวรจเรศ เนตรทอง
เพื่อความเข้าใจตรงกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายและมิตรภาพที่ดีต่อกัน กรุณาทำความเข้าใจเงื่อนไข

เข้าสู่ระบบด้วย
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก

ยังไม่มีบัญชีเทพ สร้างบัญชีใหม่
ไม่เกิน 5 นาที
สมัครสมาชิก

เข้าร่วมร้านค้า

สมัครสมาชิกร้านนี้ เพื่อรับสิทธิพิเศษ

STATISTICS

หน้าที่เข้าชม1,086,191 หน้า
ผู้ชมทั้งหมด517,210 ครั้ง
เปิดร้าน3 ก.พ. 55
ร้านค้าอัพเดท9 ก.ค. 57

Categories

กลุ่มประโยชน์และการรักษา [186]



Go to Top